For international customers, please make your purchase from the MyFonts website (Not all fonts available).

ถามตอบ

การสั่งซื้อและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ฟอนต์ราคาเท่าไร

ทั้งราคา ข้อกำหนดและเงื่อนไขการใช้งานได้ระบุไว้แล้วบนแบบฟอร์มสั่งซื้อ

เข้าหน้าสั่งซื้อไม่ได้

ถ้าคุณอาศัยอยู่ต่างประเทศจะไม่สามารถเข้าหน้าสั่งซื้อได้ หรือถ้าคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ไม่สามารถเข้าหน้าสั่งซื้อได้ เป็นไปได้ว่าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใด ๆ ที่คุณใช้ได้มีการตั้งค่าว่าอยู่ต่างประเทศ

ตัวทดลองตัวอักษรสระหายไป

ตัวทดลองที่สามารถดาวน์โหลดได้บนเว็บไซต์อักษรจะไม่ครบเพื่อให้คุณดูลักษณะคร่าว ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ

รับออกแบบฟอนต์ตามสั่งหรือไม่

ไม่รับออกแบบฟอนต์ตามสั่งหรือแก้ไขฟอนต์ใด ๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว

แก้ไขสระวรรณยุกต์อยู่ผิดตำแหน่ง

MacOS

WindowsOS

ชำระเงินผ่านบัตรเครดิตเดบิตไม่ได้

บางครั้งอาจจะชำระเงินด้วยบัตรเครดิดเดบิตไม่ได้ ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ Jipatype ก็ไม่อาจทราบได้ มีเพียงธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้นที่ทราบสาเหตุ

สามารถใช้ฟอนต์บนแท็บเล็ตได้หรือไม่

อาจใช้ได้ในแท็บเล็ตบางแบรนด์บางรุ่น อาจใช้ได้ในบางแอปพลิเคชัน เนื่องด้วยฟอนต์ของ Jipatype ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้บนอุปกรณ์ใด ๆ นอกเหนือจากเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

Jipatype ขายอะไร

Jipatype ขายใบอนุญาตใช้งาน “โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ (Font Software)” ไม่ได้ขายใบอนุญาตใช้งาน “แบบอักษร (Typeface)หรือ Jipatype ขายสิทธิ์การใช้งานฟอนต์ในฐานะ "โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software)" ไม่ใช่ "งานศิลปะ (Art)" 


โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ประกอบด้วยส่วนคำสั่งการลากเส้น การกำหนดขนาด การกำหนดตำแหน่ง การกำหนดระยะห่างในการลากเส้น ที่ใช้ในการแสดงผลเป็นตัวอักษรบนเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ไม่ใช่รูปร่างหน้าตาตัวอักษรหรือแบบอักษร (Typeface) ถ้าคุณไม่เข้าใจให้อ่าน "เรื่องลิขสิทธิ์ฟอนต์ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด"

เรื่องลิขสิทธิ์ฟอนต์ที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด

Jipatype ทราบดีว่าคนทั่วไปเข้าใจว่าโปแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ (ที่คนทั่วๆ ไปเรียกว่าสั่นๆ ว่า “ฟอนต์”) ไม่ต่างอะไรจากงานศิลปะหรืองานกราฟิกโดยทั่วไป และปฎิบัติต่อโปแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ไปในทำนองเดียวกัน ในเรื่องของลิขสิทธิ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ในทางกฎหมาย

ฟอนต์ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภท ”โปรแกรมคอมพิวเตอร์” อย่างที่เอกสารจากหน่วยงานของรัฐระบุไว้ข้างต้น (เอกสารอ้างอิง1, เอกสารอ้างอิง2) ดังนั้นวิธีปฏิบัติต่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงแตกต่างจากงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภท “ศิลปกรรม” ต่อไปนี้คือคำอธิบายถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของทั้งสองประเภทอ้างอิงตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มาตรา 4

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่งหรือสิ่งอื่นใด ที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผล อย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด

ศิลปกรรม หมายถึง งานอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้ งานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ งานสถาป์ตยกรรม งานภาพถ่าย งานภาพประกอบ งานศิลปประยุกต์

จะสังเกตได้ว่า “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” นั้นให้ความสำคัญกับชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตามชุดคำสั่งนั้น เช่น ชุดคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ออกเป็นตัวอักษรบนจอภาพ ส่วน “ศิลปกรรม” นั้นให้ความสำคัญในเรื่องของรูปร่างรูปทรงภาพถ่ายภาพวาดที่สามารถรับรู้ได้ด้วยการมองเห็นได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์คุ้มครอง “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” เฉพาะในส่วนที่เป็นชุดคำสั่ง ไม่ได้ครอบคลุมผลลัพธ์จากชุดคำสั่ง ส่วน “ศิลปกรรม” คุ้มครองในเรื่องของรูปร่างรูปทรงภาพวดภาพถ่ายที่มองเห็นได้ทันที

การละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภท “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” นั้นจะพิจารณาการละเมิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มาตรา 30 

การละเมิดลิขสิทธิ์งานประเภท “ศิลปกรรม” นั้นจะพิจารณาการละเมิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มาตรา 29

ความสำคัญคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ถูกติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์อันเป็นทรัพย์สินของผู้ถือใบอนุญาตและถูกใช้โดยผู้ถือใบอนุญาต ไม่ใช่แบบอักษรอยู่บนสื่อของใครหรือสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใด

ดังนั้น "แบบอักษร" เป็นสิ่งที่ไม่มีลิขสิทธิ์ ส่วนที่มีลิขสิทธิ์คือ "โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์" นั้นหมายความคุณสามารถวาดเลียนแบบแบบอักษรของ Jipatype ได้ (ดูด้วยตาแล้ววาดออกมา โดยที่ห้ามใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ช่วย) และนำไปใช้ได้เลยโดยที่คุณไม่ต้องซื้อสิทธิ์การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ ถ้าคุณไม่มีเวลามากพอ (ขี้เกียจ) คุณก็สามารถซื้อสิทธิ์การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์เพื่อทุ่นแรงในการวาดแบบอักษรเอง

ดังนั้น...

Jipatype ขายใบอนุญาตใช้งาน “โปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟอนต์ (Font Software)” ไม่ได้ขายใบอนุญาตใช้งาน “แบบอักษร (Typeface)” หรือ Jipatype ขายสิทธิ์การใช้งานฟอนต์ในฐานะ "โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software)" ไม่ใช่ "งานศิลปะ (Art)" 


พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์

ช่องทางติดต่อและช่องทางติดตาม

ชื่อผู้ติดต่อ: อานุภาพ ใจชำนาญ

ติดต่อ: jipatype@gmail.com, 095-638-7236  (จันทร์-ศุกร์ 9.00-18.00)

ติดตามได้ที่ : Facebook, Twitter

หมายเหตุ: 

หนังสือรับรอง

ใบทะเบียนพาณิชย์

ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ใบทะเบียนเครื่องหมายการค้า